TRCLOUD logo
  info@trcloud.co   02 370 1250

BLOCKCHAIN

Blockchain คืออะไร

Blockchain เป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลแบบหนึ่งที่ทำให้เกิดการรวมศูนย์ข้อมูล (Centralized Data) ด้วยโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง (Distributed Ledger) และมีกระบวนการตรวจสอบรวมถึงการป้องกันการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยพลการของผู้ถือข้อมูลส่วนกลาง

Blockchain ทํางานอย่างไร

ก่อนที่จะเข้าใจวิธีการทำงานของ Blockchain สิ่งที่เราต้องเข้าใจมีดังนี้

  • Hash
  • Block
  • Blockchain
  • Node
  • Ledger
LAB ทดลอง




Blockchain กับโลกธุรกิจ

TRCLOUD - Blockchain Enterprise Solution เป็นการประยุกต์ใช้ Blockchain กับงานบริหารจัดการในองค์กร เพื่อช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงิน การติดตามการซื้อและจัดส่งผลิตภัณฑ์ เพื่อความโปร่งใสและน่าเชื่อถือ ซึ่ง Blockchain จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลา

ลักษณะงานที่จะต้องใช้เทคโนโลยี Blockchain คือ ลักษณะงานที่ต้องการบูรณาการข้อมูล และในเวลาเดียวกันต้องการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบ และป้องกันการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต (Corrupt) ข้อมูลได้

TRCLOUD สามารถสร้าง Application ที่ใช้ข้อมูลผ่าน Clearing Server ดังนี้แล้วทำให้เราสามารถออกแบบระบบที่ต้องการความเชื่อถือ และความแม่นยำได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบเวชระเบียน รวมถึงระบบการกู้ยืมเงิน เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งาน Blockchain

งานด้านธุรกรรมหรือสัญญา เช่น กรมที่ดินต้องการความโปรงใสในการเก็บข้อมูลโฉนดที่ดิน ป้องกันการปลอมแปลง รวมถึงการทุจริตการแก้ไขข้อมูล กรมที่ดินจำเป็นต้องใช้ระบบ Blockchain แทนการเก็บข้อมูลด้วย Database แบบเดิม และกระจายการตรวจสอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

งานด้านการแพทย์ ใช้ Blockchain เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข้ามหน่วยงานและแพลตฟอร์มที่ต่างกันได้ เพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการนำข้อมูลมาวินิจฉัยและรักษาโรค แทนการเช็คแฟ้มประวัติคนไข้หรือโทรศัพท์ไปขอข้อมูลผู้ป่วย

งานในธุรกิจที่ต้องการความโปร่งใส เช่น การบริจาคเงินให้กับองค์กรหรือบุคคลต่างๆ ทำให้ทราบข้อมูลการบริจาคเงินตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และลดค่าใช้จ่าย

การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เช่น การติดตามเส้นทางขนส่งของอาหารสด ตั้งแต่วัตถุดิบออกจากฟาร์มไปสู่ลูกค้า กำหนดวันหมดอายุ

งานที่มีลิขสิทธิ์ เช่น Muse Blockchain ได้สร้างแพลตฟอร์ม Streaming ชื่อว่า Peer Tracks ที่ผู้ฟังสามารถจ่ายเงินโดยตรงไปยังศิลปินได้ นอกจากจะช่วยเรื่องลิขสิทธิ์แล้ว ยังช่วยตัดคนกลางออกไป ทำให้ศิลปินได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น


Reference

1. S.B.B.P. (2018, March 18). Blockchain Basics: Introduction to Distributed Ledgers. IBM Developer. https://developer.ibm.com/tutorials/cl-blockchain-basics-intro-bluemix-trs/

2. Brownworth, A. (2016, November 5). Blockchain 101 - A Visual Demo. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=_160oMzblY8

3. Griffith, A. (2019, December 6). Blockchain - ETH.BUILD. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=zcX7OJ-L8XQ

4. สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2019). depa Thailand - Article View. Depa. https://www.depa.or.th/th/article-view/blockchain-work