TRCLOUD logo
  info@trcloud.co   02 370 1250

บทความ & สาระน่ารู้

Tax Point จุดเกิดภาษีมูลค่าเพิ่ม



ผู้ประกอบหลายท่านอาจมีความไม่เข้าใจ รวมถึงความผิดพลาดในการออกใบกำกับภาษี โดยหลายท่านผู้เข้าใจว่าจะออกใบกำกับภาษีเมื่อได้รับชำระเงินค่าสินค้าแล้วเท่านั้น แท้จริงแล้วทางกรมสรรพากรได้กำหนด TAX POINT หรือ จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในแต่ละรูปแบบของธุรกิจไว้แต่ต่างกันดังนี้

กรณีที่ 1 กรณีการขายสินค้า

1.1 กรณีการขายสินค้าทั่วไป ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ เว้นแต่กรณีที่ผู้ขายได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือได้รับชำระราคาสินค้าหรือได้ออกใบกำกับภาษีก่อนมีการส่งมอบสินค้า ความรับผิดในการเสียภาษีของผู้ขายจะเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ แล้วแต่กรณี เช่น รับเงินมัดจำ เงินล่วงหน้า เงินจอง

1.2 การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายผ่อนชำระ ที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบ ความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระราคาตามงวดที่ถึงกำหนด ชำระแต่ละงวด เว้นแต่กรณีที่ผู้ขายได้รับชำระค่าสินค้าหรือออกใบกำกับภาษีก่อนที่จะถึง กำหนดชำระในแต่ละงวด ความรับผิดชอบในการเสียภาษีจะเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ แล้วแต่กรณี

1.3 การขายสินค้าโดยตั้งตัวแทนขาย และได้ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนแล้ว ความรับผิดชอบในการเสียภาษีของผู้ขายจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแทนได้ส่งมอบสินค้า ให้แก่ผู้ซื้อ เว้นแต่กรณีที่ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้แก่ผู้ซื้อก่อนหรือได้รับ ชำระราคาสินค้าหรือได้ออกใบกำกับภาษีหรือได้มีการนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าจะ กระทำโดยตัวแทนหรือบุคคลอื่น ทั้งนี้ให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆแล้วแต่กรณี

1.4 การขายสินค้าโดยการส่งออก การส่งออกนอกประเทศทั่วไป ความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้นเมื่อชำระอากรขาออกตามกฏหมายว่าด้วยศุลกากร หรือวันที่ได้มีการวางค้ำประกันอากรขาออก กรณีที่ได้รับยกเว้นอากรขาออกให้ความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขน สินค้าขาออกตามกฏหมายว่าด้วยศุลกากร

2.กรณีการให้บริการ

2.1 การให้บริการโดยทั่วไปความรับผิด ทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระค่าบริการ รับเงินจ่ายล่วงหน้า เงินมัดจำหรือเงินจอง เว้นแต่กรณีที่ผู้ให้บริการได้ออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้า ก่อนได้รับชำระค่าบริการหรือได้ใช้บริการ ไม่ว่าตนเองหรือบุคคลอื่นๆ ทั้งนี้ให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ แล้วแต่กรณี

2.2 การให้บริการตามสัญญา ที่กำหนดค่าตอบแทนตามส่วนของบริการที่ทำ ความรับผิด ในการเสียภาษีเกิดขึ้น เมื่อได้รับชำระราคาค่ำบริการตามส่วนของบริการที่สิ้นใบกำกับภาษีก่อนได้รับชำระค่าบริการสุดลงเว้นแต่ได้ออก

3.กรณีการนำเข้าสินค้า

ความรับผิดในการเสียภาษีที่เกิดจากการนำเข้าโดยทั่วไป เกิดขึ้นเมื่อชำระอากรขาเข้าตามกฏหมายว่าด้วยศุลกากรหรือเมื่อมีการวางค้าประกันอากรขาเข้า

4.การขายสินค้าหรือให้บริการกรณีพิเศษ

ความรับผิดในการเสียและคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.86/2542 ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นไปตามกฏกระทรวงฯ ฉบับที่ 189 (2534) และ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.86/2542 ดังต่อไปนี้

1. การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้าหรือ ได้มีการออกใบกำกับภาษีก่อนได้รับชำระราคา แล้วแต่กรณีทั้งนี้โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำผิดนั้นๆ

2. การขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง เช่น สิทธิในสิทธิบัตร กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สัมปทานค่าสิทธิ หรือสินค้าในทำนองเดียวกัน ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า เว้นแต่มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนคือ โอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือได้ออกใบกำกับภาษี ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้นๆด้วย

3. การขายสินค้าหรือให้บริการด้วยเครื่องอัตโนมัติความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดเมื่อนำเงินออกจากเครื่อง

4. การขายสินค้าหรือการให้บริการโดยการชำระราคาด้วยการใช้บัตรเครดิต หรือในลักษณะทำนองเดียวกันให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อนการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต ก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการออกใบกำกับภาษีนั้น

5. กรณีผู้ประกอบการน าสินค้าไปใช้ โดยตนเองหรือบุคคลอื่น โดยมิใช่เพื่อการประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์ที่กฏหมายกำหนด ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อนำไปใช้หรือส่งมอบสินค้า ให้บุคคลอื่นเพื่อใช้ (ไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี)

6. กรณีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการตรวจพบ (ไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี)

7. กรณีผู้ประกอบการมีสินค้าคงเหลือ และหรือทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบการ ณ วันเลิกกิจการความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการหรือแจ้ง เลิกประกอบกิจการ (ไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี)

8. นำสินค้าหรือบริการไปใช้ในการผลิตสินค้า การให้ บริการ การบริหารงานของกิจการซึ่งเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่เป็น บริการเพื่อการรับรอง ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้ใช้บริการไม่ว่าตนเอง หรือบุคคลอื่น (ไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี)

9. นำสินค้าหรือบริการไปใช้ในการผลิตสินค้า การให้บริการ การบริหารงานของกิจการ ซึ่งเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่เป็นบริการที่ใช้กับรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเอง หรือบุคคลอื่น (ไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี)

10. จำหน่าย จ่ายโอน สินค้าโดยไม่มีค่าตอบแทนและไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า (ไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี)

ที่มาของบทความ:

บทความแนะนำ